ริเวอร์แบงค์ซิตี้การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอันเนื่องจากวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันในการพัฒนาเมืองและพื้นที่โดยรอบ

หนึ่งในวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาคือ การทำให้เมืองริเวอร์แบงค์ซิตี้กลายเป็น "ศูนย์กลางการเพาะปลูกและการค้าข้าวแห่งภูมิภาค" ซึ่งสิ่งนี้ได้นำไปสู่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองแห่งนี้ โดยสร้างเขื่อนมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหานำ้สำหรับการชลประทานขนาดใหญ่และการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อการดำเนินกิจกรรมของโรงสีข้าว วิสัยทัศน์นี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายใหญ่ เจ้าของโรงสีข้าว ตลอดจนบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน ณ เมืองแห่งนี้ อีกทั้งเป็นที่รับรู้กันว่ากำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง ดังนั้นการมีเขื่อนขนาดใหญ่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆในปัจจุบันมีการดำเนินชีวิตและทำมาหากินที่แตกต่างหลากหลาย เช่น การทำเกษตรและการประมงขนาดเล็ก การทำกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน เป็นต้น ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมเหล่านี้เป็นผู้อยู่อาศัยกลุ่มใหญ่ในเมืองและบริเวณโดยรอบ พวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของโครงการ "ศูนย์กลางการเพาะปลูกและการค้าข้าวแห่งภูมิภาค" โดยเฉพาะผลกระทบที่จะมีต่อการดำรงชีวิตตลอดจนผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

ในขณะเดียวกันผู้ว่าการรัฐริเวอร์แบงค์ซิตี้กำลังก็กำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้งในปีหน้า และยังถูกกดดันจากรัฐบาลแห่งชาติในการทำให้เมืองแห่งนี้มีการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต อีกทั้งต้องตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในเมืองริเวอร์แบงค์ซิตี้

ในฐานะที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ของผู้ว่าการรัฐและความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง คุณสามารถที่จะช่วยหาหนทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้หรือไม่?

เกมนี้มีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หลายแบบโดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในระหว่างการเล่น ในแต่ละคำถามคุณจะได้รับรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์เพื่อขอให้คุณให้คำแนะนำแก่ผู้ว่าการรัฐ เกมนี้ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีในการเล่น

ในเกมนี้คุณจะได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของ “ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Reciprocity)” ระหว่าง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่นำไปสู่การกำกับดูแลน้ำและผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาในรูปแบบอื่นๆ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการกำกับดูแลน้ำ เป็นงานวิจัยที่จัดทำโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม (CSDS) โดยที่ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันนั้นมีมากมายหลายประเภท ได้แก่:

  • ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในเชิงบวก การกระทำที่เป็นไปในลักษณะของการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมระหว่างกันหรือต่อส่วนรวม

  • ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในเชิงลบ เป็นความสัมพันธ์แบบลักษณะ “ตาต่อฟันต่อฟัน” ที่ทำให้เกิดความเสียหายซึ่งกันและกัน หรือ “ผู้ชนะจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด”

  • ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบเฉพาะเจาะจง มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จำกัดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามการกระทำที่เฉพาะเจาะจงและวัดผลได้

  • ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบกระจายอำนาจ มีการแลกเปลี่ยนที่เป็นวงกว้างระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยอาศัยการกระทำหลายอย่างประกอบกัน

  • ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบผูกขาด จะจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับชนชั้นนำที่เกี่ยวข้องในการกระทำต่อการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ และจะมีอุปสรรคขนาดใหญ่ในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ

  • ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบครอบคลุม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใหญ่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำต่อการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันโดยมีอุปสรรคในการเข้าร่วมเพียงเล็กน้อย

เราสามารถพิจารณาผลลัพธ์ได้หลายวิธี ได้แก่

  • ความยั่งยืนของผลลัพธ์ในแง่ของผลกระทบและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

  • ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

  • การแบ่งปันผลประโยชน์และความเสียหายระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มที่หลากหลายและพวกเขาเห็นว่าได้รับความยุติธรรมจากสิ่งที่ได้รับหรือไม่

  • กระบวนการสร้างความไว้วางใจหรือความไม่ไว้วางใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สามารถหาอ่านได้ที่บทสรุปข้อเสนอแนะทางนโยบายจัดทำโดย CSDS ชื่อบทความ “ความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างกันบนแม่น้ำลานช้าง – แม่โขง: สู่ความสัมพันธ์ที่มีส่วนร่วมและความสัมพันธ์เชิงนิเวศ” (พฤศจิกายน 2561) และ บทความในวารสารวิชาการชื่อ “ความสัมพันธ์ในทางปฏิบัติ: การเมืองเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำของการใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมและสมเหตุสมผลในลุ่มแม่น้ำลานช้าง – แม่โขง (ตุลาคม 2563) โดย Dr. Carl Middleton และ Dr. David J. Devlaeminck.

Game Poster-ed (1).png
Reciprocity Poster-ed2.png

Game credit

คิดค้นและออกแบบโดย ธิตา อ่อนอินทร์ และ Carl Middleton (เวอร์ชั่น 1.1 ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563)

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ

ในการสร้างเกมส์เพื่อการศึกษานี้หากเนื้อหา ตัวละครสมมุติมีความคล้ายคลึงกันใดๆ กับโครงการหรือกิจกรรมอื่นๆที่มีอยู่ก่อนนั้น ขอให้ทราบว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องบังเอิญอย่างแท้จริง